วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ

3.1 ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การดำเนินการในการขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นเป็นส่วนที่สำคัญมากในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่จะต้องคำนึงถึงเพราะจะต้องหาหน่วยงานที่ประกอบกิจการที่มีลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ศึกษามาให้ใกล้เคียงที่สุด และเมื่อมั่นใจแล้วว่าหน่วยงานที่ไปขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นค่อนข้างตรงตามหลักสูตรที่เรียนมาบ้างหลังจากนั้นก็ต้องดำเนินการในการขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1.1 ขอคำแนะนำในการฝึกประสบการณ์จากอาจารย์ที่ปรึกษา
3.1.2 หาข้อมูลหน่วยงานสถานที่ที่จะไปขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.3 เข้าไปสอบถามข้อมูลเพื่อขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับฝ่ายบุคคลของหน่วยงานที่จะไปขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.4 เมื่อหน่วยงานที่ไปขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้ตอบรับให้เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานได้ก็ขอรายละเอียดในการดำเนินงานบางส่วนของหน่วยงานไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาว่าสามารถเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้หรือไม่
3.1.5 เมื่อได้หน่วยงานที่ขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพแล้วก็ขอหนังสือขอฝึก ประสบการณ์วิชาชีพจากทาง แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3.1.6 ส่งรายละเอียดการขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพไปยังแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขออนุมัติในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.7 เมื่อทางแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้อนุมัติการขอฝึกประสบการณ์จากหย่วยงานที่เสนอไปแล้วหลังจากนั้นก็รับฟังคำชี้แจงรายละเอียดการฝึกประสบการณ์จากทาง แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและรับหนังสือรายงานตัวและแบบประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.8 นำหนังสือรายงานตัวและแบบประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ไปยื่นให้กับหน่วยงานที่ขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามเวลาที่ทางแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้กำหนดไว้พร้อมกับไปรายงานตัวและเริ่มการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นวันแรก
3.1.9 ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจนครบกำหนดเวลาที่ทางแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้กำหนดไว้ โดยตลอดระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจะมีใบลงเวลาและใบบันทึกการปฏิบัติงานที่นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพจะต้องทำการลงข้อมูลทุกวันและให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเซ็นชื่อรับทราบทุกวัน
3.1.10 เมื่อทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจนครบกำหนดเวลาแล้วทางหน่วยงานจะทำการประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพตลอดการฝึกที่ผ่านมาแล้วทำการปิดผนึกและเซ็นชื่อกำกับแบบประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแล้วให้คืนแก่นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อจะนำไปให้อาจารย์นิเทศที่เป็นผู้รับผิดชอบนักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

3.2 วิธีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 มีรายละเอียดในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ดังนี้
โดยการฝึกประสบการณ์ ในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ได้รับการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพในฝ่ายบริหารทั่วไป ซึ่งมีการดำเนินการเกี่ยวกับ งานธุรการ งานการเงิน งาน-พัสดุ งานแบบแสดง/ประชาสัมพันธ์ งานบริการผู้เสียภาษี (คัดแบบ) งานเลข โดยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นประจำในฝ่ายบริหารทั่วไปจะเน้นไปที่งานธุรการ และงานธุรการที่ทำอยู่หลักๆเป็นประจำทุกวัน
3.2.1 โดยงานจะทำในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของกรมสรรพากรเอง ซึ่งจะเป็นระบบอินเตอร์เน็ตโดยจะเป็นเว็บไซต์การทำงานของกรมสรรพากร คือ http://rdsrv.rd.go.th/ ซึ่งในการทำงานในระบบนั้นจะต้องคีย์รหัสผ่านทุกครั้งถึงจะเข้าใช้งานได้ โดยเจ้าหน้าที่แต่ละคนจะมีรหัสผ่านเป็นของใครของมัน ซึ่งงานที่ต้องทำในอินเตอร์เน็ตของเว็บไซต์กรมสรรพากรมีดังรายละเอียดต่อไปนี้
- งานออกเลขหนังสือราชการ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานตามทีมกำกับต่างๆตั้งแต่ทีม 1-9 และฝ่ายต่างๆใน สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 จะนำหนังสือราชการที่ทำมาแล้วหรือจะเป็นสำนวนเหล่านี้มาให้ฝ่ายธุรการออกเลขหนังสือราชการให้แล้วนำเลขที่ออกแล้วในระบบไปเขียนลงในหนังสือราชการหรือสำนวนที่เจ้าหน้าที่เอามาให้ออกเลขโดยจะใช้ปากกาเขียนเลยในหนังสือราชการเท่านั้น
- งานลงรับหนังสือราชการ โดยจะเป็นการลงรับหนังสือราชการจากสถานประกอบการภายนอกอื่นๆ และจากสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครเขตอื่นที่จะทำธุรกรรมกับทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 โดยจะรับจากบุรุษไปรษณีย์ที่มาส่งให้แล้วทำแกะซองหนังสือราชการและแบบ ภ.ง.ด. และแยกประเภทของงานออกเป็นส่วนๆ แล้วทำการลงรับโดยจะมีตรายางลงรับก็ทำการประทับตราลงรับและประทับตราฝ่ายต่างๆ ที่หนังสือราชการได้ระบุไว้ตามเนื้อเรื่องและประทับตราวันที่ หลังจากนั้นก็นำมาลงรับเข้าไปในระบบเพื่อส่งไปยังฝ่ายต่างๆตามที่ระบุไว้โดยในหนังสือจะระบุเลขหนังสือมาให้เพื่อจะทำการลงรับในระบบตามเลขนั้นๆ เมื่อลงรับเสร็จก็เสนอไปยังหัวหน้าส่วนของฝ่ายบริหารทั่วไปให้เซ็นเมื่อเซ็นแล้วก็นำหนังสือไปส่งตามทีมแต่หากเป็นหนังสือที่สำคัญก็จะเสนอไปยังท่านสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ต่อไป
- ลงทะเบียนรับหนังสือราชการ คือจะมีหนังสือราชการหรือสำนวนจากเจ้าหน้าที่ที่ทำงานตามทีมกำกับต่างๆตั้งแต่ทีม 1-9 และฝ่ายต่างๆใน สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 มาเสนอที่หน้าห้องท่านสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เพื่อพิจารณาและลงทะเบียนรับเข้าไปในระบบงานของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เพื่อออกเลขหนังสือราชการ โดยเจ้าหน้าที่จะมีเลขอ้างอิงมาให้ในสำนวนหรือหนังสือราชการเพื่อให้ลงทะเบียนรับได้ก็หมดขั้นตอนนี้
ไป
- งานรับคำร้อง จะเป็นงานที่บริษัทหรือหน่วยงานภายนอกที่ต้องเสียภาษีจะต้องทำคำร้องขอยื่นแบบและคำร้องขอลดเบี้ยปรับแล้วรับเอกสารที่ยื่นมาทำการลงรับใหม่ในระบบ
3.2.2 งานที่ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่นบ้าง เช่น
- งานลงรับแบบ ภ.ง.ด. โดยจะมีแบบ ภ.ง.ด. จากสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครจากเขตอื่นส่งมาแล้วมาทำการคัดแยกประเภทของแบบแล้วก็นำไปลงรับซึ่งจะเป็นการใช้ โปรแกรม Microsoft Excel เมื่อลงรับเสร็จก็จะนำไปเสนอให้หัวหน้าส่วนบริหารทั่วไปเซ็นอนุมัติ
- งานพิมพ์หนังสือราชการ ก็ใช้โปรแกรม Microsoft Word
3.2.3 งานส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้โปรแกรม เช่น
- งานเวียนหนังสือราชการ คือจะมีหนังสือราชการให้ส่งตามทีมกำกับและฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ตามที่ในหนังสือระบุไว้โดยตัวหนังสือนั้นจะประกอบไปส่วนที่เป็นตัวจริงและสำเนาโดยจะเวียนให้เจ้าหน้าที่เซ็นรับหนังสือโดยเซ็นรับที่ตัวสำเนาแล้วเอาตัวจริงให้เจ้าหน้าที่ไปเก็บส่วนสำเนาไว้เพื่อจะคืนให้ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องก็จะเวียนจนครบทุกทีมตามที่หนังสือราชการระบุไว้ ก็เป็นจบงานตัวนี้
- รับงานจากหน้าห้องท่านสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เมื่อรับงานมาแล้วก็ทำการส่งให้ตามทีมหรือฝ่ายที่ระบุไว้ในหนังสือราชการจนครบ
- ส่งงานให้ตามทีมกำกับและฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
3.2.4 นอกจากนั้นก็จะเป็นงานที่ใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปเช่น ถ่ายเอกสาร ส่งแฟ็กซ์ รับโทรศัพท์

3.3 การวิเคราะห์ SWOT การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์ จุดแข็ง(Strength : S) จุดอ่อน(Weakness : W) โอกาส(Opportunities : O)และอุปสรรค(Threat : T) โดยจะวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน เพื่อจะพิจารณาถึงโอกาส(Opportunities : O) อุปสรรค(Threat : T) กับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานเพื่อพิจารณาถึง จุดแข็ง(Strength : S) จุดอ่อน(Weakness : W) ของหน่วยงานทั้งในปัจจุบัน อนาคต ซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นจะเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง(Strength : S) จุดอ่อน(Weakness : W) โอกาส(Opportunities : O)และอุปสรรค(Threat : T) เกี่ยว กับตัวเองในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ซึ่งการวิเคราะห์ SWOT เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยจะทำให้ผู้ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้รู้ว่าตัวเองมีสิ่งไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือสิ่งไหนที่ดีแล้วก็ควรพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปเพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้เมื่อจบการศึกษาออกไปประกอบอาชีพต่อไป มีรายละเอียดดังนี้
3.3.1 จุดแข็ง (Strength : S) คือ สถานการณ์ ความสามารถที่เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ข้าพเจ้าได้มีจุดแข็ง (Strength : S) ดังนี้
1) เข้าใจงานที่ได้รับมอบหมายได้เร็ว
2) ทำงานได้เร็วคล่องแคล่ว
3) ทำงานไม่ค่อยผิดพลาด
4) อัธยาศัยดี
3.3.2 จุดอ่อน (Weakness : W) คือ การด้อยความสามารถการไม่สามารถนำหน้าที่ต่างๆของตนเองมาใช้เป็นประโยชน์ดำเนินงานในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ข้าพเจ้าได้มีจุดอ่อน (Weakness : W) ดังนี้
1) พูดไม่ค่อยเก่ง ไม่ฉะฉาน ค่อนข้างเงียบ
2) ขี้อายไม่ค่อยกล้าแสดงออก
3) ไม่มั่นใจในตัวเอง

3.3.3 โอกาส (Opportunities : O) คือ ปัจจัย สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ข้าพเจ้าได้มีโอกาส (Opportunities : O) ดังนี้
1) มีโอกาสได้รู้ข่าวสารภายในของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ได้รวดเร็วก่อนบุคคลภายนอกซึ่งเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เช่น ข่าวสารด้านการสอบเข้าทำงานการรับสมัครงานของกรมสรรพากร
2) ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินการเรื่องภาษีได้ดีกว่าบุคคลภายนอก
3)มีโอกาสที่หน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพอยู่จะติดต่อให้เข้าทำงานในหน่วยงานต่อไป
3.3.4 อุปสรรค (Threat : T) คือ ปัจจัย สถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ข้าพเจ้าได้มีอุปสรรค (Threat : T) ดังนี้
1) ตื่นสาย
2) ชอบง่วงนอนเวลาทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น