วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง



กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2546.
นฤมล สุ่นสวัสดิ์, การจัดการเชิงยุทธศาสตร์(Strategic Management), วันทิพย์ : กรุงเทพฯ,
พ.ศ. 2551, 312 หน้า.
ภัทิรา มาศมาลัย, ภาษีอากรธุรกิจ (BUSINESS TAXATION), คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 312 หน้า.
อนุชิต สุนทรอดิศัย, นักศึกษษโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ภาคเรียนที่ 1/2551.

บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ

บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ


5.1 สรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ที่ทางสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้กำหนดให้นักศึกษาต้องผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพก่อนจะจบการศึกษาจากสถาบันไป ซึ่งการฝึกประสบการณ์ในครั้งนี้ได้ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่หน่วยงานราชการ คือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ตั้งอยู่ที่ 14/21 หมู่3 ถนนเอก-ชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150 โทรศัพท์เบอร์กลาง : 0-2416-5410-2 Email : bkk15@rd.go.th รถประจำทางที่ผ่าน : สาย 43 , 120 , 167 และ ปอ.544 โดยมีระยะเวลาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยได้ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ฝ่ายบริหารทั่วไปของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้คอยให้คำแนะนำคือ นางสาวดวงจันทร์ รวมญาติ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการ ระดับชำนาญงาน และเจ้าหน้าที่ภายในฝ่ายบริหารทั่วไปด้วย ที่คอยฝึกหัดงานให้ตลอดระยะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครั้งนี้ทำให้ได้นำความรู้ความสามารถที่ได้ศึกษามาตามหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในฝ่ายบริหารทั่วไปของ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 นั้นก็มีทั้งปัญหาและอุปสรรคบ้างในบางครั้งทั้งที่เกิดจากตัวของผู้ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเองและจากหน่วยงานของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 บ้างในบางครั้ง เช่น การประสานงานที่สื่อสารกันแต่ไม่เข้าใจระหว่างผู้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเองกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 จนงานผิพลาดไปบ้างแต่ก็สามารถแก้ปัญหาไปได้ และกรณีที่ทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 มีการผิดพลาดมาก่อนแล้วจึงทำให้งานล่าช้าไปบ้าง ซึงก็ทำให้ผู้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้ฝึกการสื่อสารหรือการประสานงานในหน่วยงานที่จะต้องมีความเข้าใจรอบคอบและแม่นยำ มีความอดทน ความรับผิดชอบต่อตัวเองต่อหน้าที่ และต่อสังคม จึงจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด
ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทำให้ได้สัมผัสกับการทำงานจริงๆ การใช้อุปกรณ์สำนักงานจริงๆในการทำงานที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้ความสามารถของเราที่ได้ศึกษามานำไปใช้งานได้จริงๆ ตามที่ศึกษามารึเปล่า และได้เรียนรู้การทำงานภายในของหน่วยงานราชการที่บุคคลภายนอกไม่สามารถสัมผัสได้ง่ายๆ โดยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นประจำในฝ่ายบริหารทั่วไปจะเน้นไปที่งานธุรการ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครั้งนี้ ก็เช่น งานออกเลขหนังสือราชการ งานลงทะเบียนรับหนังสือราชการ งานลงรับหนังสือราชการ งานรับคำร้องขอลดเบี้ยปรับ งานเช็คทีมกำกับ งานที่เกี่ยวกับหนังสือราชการที่ต้องแก้ไข หรือตรวจเช็ค เป็นต้น โดยงานเหล่านี้จะทำในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของกรมสรรพากรเอง ซึ่งจะเป็นระบบอินเตอร์เน็ตโดยจะเป็นเว็บไซต์การทำงานของกรมสรรพากร คือ http://rdsrv.rd.go.th แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์กรมสรรพากรธรรมดาจะเป็นดังนี้ www.rd.go.th และมีงานที่ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่นบ้าง เช่น งานลงรับแบบ ภ.ง.ด. จะเป็นการใช้ โปรแกรม Microsoft Excel งานพิมพ์หนังสือราชการ ก็ใช้โปรแกรม Microsoft Word นอกจากนั้นก็จะเป็นงานที่ใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปเช่น ถ่ายเอกสาร ส่งแฟ็กซ์ รับโทรศัพท์ และงานรับหนังสือจากหน้าห้องท่านไปส่งตามทีมกำกับ ซึ่งงานเหล่านี้จะทำเป็นประจำทุกวัน
ในการทำงานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ครั้งแรกๆที่ได้ทำก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในระบบงานเท่าไรนัก แต่เมื่อได้ตั้งใจศึกษาเก็บเกี่ยวให้ได้มากที่สุดงานตัวไหนที่ไม่ค่อยเข้าใจก็ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่คอยให้คำปรึกษาแล้วทำการจดบันทึกไว้แล้วทำความเข้าใจ จนเข้าใจรายละเอียดของงานมากขึ้น พอฝึกงานแล้วเรียนรู้มาได้สัก 2 สัปดาห์เริ่มจะเป็นงานบ้างแล้วเจ้าหน้าที่ก็เริ่มปล่อยให้ทำเองบ้างเป็นบางงาน จนฝึกได้ 2 เดือนก็สามารถทำเองได้มากขึ้น จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ทำให้ได้รู้ระบบงานในหน่วยงานว่ามีขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นระบบ ซึ่งสามารถนำประสบการณ์ในการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ได้กับหน่วยงานอื่นๆได้ และยังทำให้รู้ถึงจดบกพร่องของตัวเองในการทำงานและนำไปปรับปรุงแก้ไขได้ รวมทั้งข้อดีในการทำงานของตัวเองไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ทำให้รู้ว่าการทำงานต้องมีความรับผิดชอบ รู้หน้าที่ของตัวเอง และต้องมีความตั้งใจในการทำงานที่ตนรับผิดอยู่
ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นเป็นหลักสูตรที่สำคัญโดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้บรรจุเข้าไปในหลักสูตรที่นักศึกษาทุกคนต้องผ่านหลักสูตรนี้ไปจึงจะเป็นสิ่งที่รับประกันว่าได้ผ่านการฝึกงานจากสถานที่ทำงานจริงๆ และจบหลักสูตรการศึกษาไปอย่างสมบูรณ์แบบจริง ดังที่ข้าพเจ้าได้ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจากหน่วยงานราชการ คือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ถ้าผู้ที่ไม่ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนี้ไปก็จะไม่รู้ถึงความสำคัญของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ที่จะให้ประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาเองเมื่อจบการศึกษาไปและจะเอื้ออำนวยต่อการหางานทำที่ตัวเองถนัดซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสให้กับตัวเองในการทำงานมากขึ้นต่อไป



5.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 นั้นได้นำความรู้ที่ศึกษาเล่าเรียนมาตามหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องพร้อมกันนั้นยังได้เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถที่ตนเองมีอยู่ไปใช้ในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น และทำให้ได้รู้ถึงข้อดี-ข้อเสีย ของตนเองในการทำงาน การปรับตัวเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมการทำงาน เป็นการสร้างความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองว่าดีพอหรือเหมาะสมหรือยัง และเป็นการฝึกความอดทนของตัวเองไปด้วย แล้วยังทำให้ได้ความรู้ความชำนาญในงานทางด้านคอมพิวเตอร์ งานด้านเอกสารและความรู้ใหม่ที่มีเข้ามาในแต่ละวัน ได้ความรู้ในการทำงานกับหน่วยงานราชการ ได้ประสบการณ์ในการเข้าสังคมการทำงาน รู้จักคนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้างาน และยังทำให้ได้รู้จักกฎระเบียบการทำงาน การบริหารเวลาในการทำงานการตรงต่อเวลาในการทำงาน ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่ติดตัวไปสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นๆได้เป็นอย่างดี และเป็นการสร้างโอกาสในการหางานที่มีความได้เปรียบกว่าผู้ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

5.3 สรุปปัญหาและอุปสรรคจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ในส่วนของปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 คือในบางครั้งการสื่อสารการประสานงานกับเจ้าหน้าที่เกิดการเข้าใจผิดกับเนื้องานจนทำให้งานผิดพลาดเกิดความล่าช้าบ้าง เวลาทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่พอใช้เวลามีงานด่วนมาเยอะๆก็จะทำล่าช้า และบางครั้งระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่จะต้องทำงานอยู่ประจำเกิดความล่าช้าจนทำงานไม่ได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานก็ค่อนข้างจะเก่าทำงานบางครั้งก็เกิดอาการขัดข้อง และในบางครั้งหนังสือราชการที่รับมาจากภายนอกก็ไม่รู้ว่าจะส่งไปยังฝ่ายใดเพราะในหนังสือไม่ได้ระบุเช็คทีมดูก็ไม่เจอทำให้เอกสารส่งถึงทีมล่าช้า มีการส่งเอกสารให้ผิดทีมบ้าง การที่จะต้องจดจำทีมกำกับในหน่วยงานสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ให้ได้ทั้งหมดเพื่อจะต้องไปส่งเอกสารให้ถูกต้อง
ในส่วนของอุปสรรคในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่พอใช้ ระบบของโปรแกรมสำเร็จรูปล่าช้า เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์สำนักงานอื่นๆที่ใช้งานอยู่ประจำก็เก่ามาก ในบางครั้งไม่ค่อยมีงานเข้ามาทำให้รู้สึกเบื่อเกิดอาการง่วงไม่ กระตือลือล้น ในการทำงานในบางครั้ง และการที่มีงานเข้ามาไม่ค่อยแน่ใจว่าจะส่งไปยังทีมไหนเพราะไม่ได้ระบุฝ่ายมาในเวลาที่เจ้าหน้าที่งานที่คอยดูแลไม่อยู่ทำให้งานล่าช้า


5.4 ข้อเสนอแนะในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นทำให้ได้รับประโยชน์มากมายในการที่จะนำประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและยังเป็นการทบทวนนำความรู้ที่ตัวเองได้ศึกษามาตามหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่และยังเป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของตัวเองในหลายด้าน มีดังนี้
5.4.1 การพัฒนาตนเองด้านพฤติกรรม
5.4.2 การพัฒนาตนเองด้านการทำงาน
5.4.3 การพัฒนาตนเองด้านการบริหารงาน
5.4.4 การพัฒนาตนเองด้านการปฏิบัติตัว
5.4.5 การพัฒนาตนเองด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน
และสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ สถานที่ที่จะไปขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ต้องพยายามหาหน่วยงานที่ประกอบการตรงตามหลักสูตรที่ศึกษามาให้มากที่สุดเพื่อจะเป็นการนำความรู้ที่ศึกษามาใช้ได้จริงๆ จะทำให้สนุกกระตือลือล้นในการทำงานมากขึ้นไม่น่าเบื่อ สิ่งที่สำคัญเลยในการออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นผู้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพจะต้องตั้งใจไขว่คว้าความรู้ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้มากที่สุด และพยายามเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้ได้มากที่สุดรับรองว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในการจบจากสถาบันออกไปทำงานกับสถานที่ข้างนอกจริงๆ

บทที่ 4 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

บทที่ 4
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ


4.1 รายละเอียดงานที่ได้รับมอบหมาย
จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ที่ทางสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้กำหนดให้นักศึกษาต้องผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพก่อนจะจบการศึกษาจากสถาบันไป ซึ่งการฝึกประสบการณ์ในครั้งนี้ได้ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่หน่วยงานราชการ คือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 สำหรับงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 คืองานในฝ่ายบริหารทั่วไป ส่วนมากจะเป็นงานด้านธุรการทีทำอยู่ประจำ โดยแต่ละวันได้รับมอบหมายดังนี้
วันจันทร์ที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
โดยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นประจำในฝ่ายบริหารทั่วไปจะเน้นไปที่งานธุรการ ที่ทำอยู่เป็นประจำคือ
- งานออกเลขหนังสือราชการ
- งานลงทะเบียนรับหนังสือราชการ
- งานลงรับหนังสือราชการ
- งานรับคำร้องขอลดเบี้ยปรับ
- งานเช็คทีมกำกับ
- งานที่เกี่ยวกับหนังสือราชการที่ต้องแก้ไข หรือตรวจเช็ค
โดยงานเหล่านี้ทำในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของกรมสรรพากรเอง ซึ่งจะเป็นเว็บไซต์การทำงานของกรมสรรพากร คือ http://rdsrv.rd.go.th แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์กรมสรรพากรธรรมดาจะเป็นดังนี้ www.rd.go.th และมีงานที่ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่นบ้าง เช่น
- งานลงรับแบบ ภ.ง.ด. จะเป็นการใช้ โปรแกรม Microsoft Excel
- งานพิมพ์หนังสือราชการ ก็ใช้โปรแกรม Microsoft Word
- นอกจากนั้นก็จะเป็นงานที่ใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปเช่น ถ่ายเอกสาร ส่งแฟ็กซ์ รับโทรศัพท์
- งานรับหนังสือจากหน้าห้องท่านไปส่งตามทีมกำกับ
- และมีงานที่นอกเหนือจากนี้บ้างแล้วแต่เจ้าหน้าที่จะใช้ให้ทำ เช่น ออกไปช่วยทำกิจกรรมข้างนอก หรืองานอื่นๆที่สามารถช่วยทำได้
วันอังคารที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
โดยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นประจำในฝ่ายบริหารทั่วไปจะเน้นไปที่งานธุรการ ที่ทำอยู่เป็นประจำคือ
- งานออกเลขหนังสือราชการ
- งานลงทะเบียนรับหนังสือราชการ
- งานลงรับหนังสือราชการ
- งานรับคำร้องขอลดเบี้ยปรับ
- งานเช็คทีมกำกับ
- งานที่เกี่ยวกับหนังสือราชการที่ต้องแก้ไข หรือตรวจเช็ค
โดยงานเหล่านี้ทำในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของกรมสรรพากรเอง ซึ่งจะเป็นเว็บไซต์การทำงานของกรมสรรพากร คือ http://rdsrv.rd.go.th แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์กรมสรรพากรธรรมดาจะเป็นดังนี้ www.rd.go.th และมีงานที่ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่นบ้าง เช่น
- งานลงรับแบบ ภ.ง.ด. จะเป็นการใช้ โปรแกรม Microsoft Excel
- งานพิมพ์หนังสือราชการ ก็ใช้โปรแกรม Microsoft Word
- นอกจากนั้นก็จะเป็นงานที่ใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปเช่น ถ่ายเอกสาร ส่งแฟ็กซ์ รับโทรศัพท์
- งานรับหนังสือจากหน้าห้องท่านไปส่งตามทีมกำกับ
- และมีงานที่นอกเหนือจากนี้บ้างแล้วแต่เจ้าหน้าที่จะใช้ให้ทำ เช่น ออกไปช่วยทำกิจกรรมข้างนอก หรืองานอื่นๆที่สามารถช่วยทำได้
วันพุธที่ 5 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
โดยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นประจำในฝ่ายบริหารทั่วไปจะเน้นไปที่งานธุรการ ที่ทำอยู่เป็นประจำคือ
- งานออกเลขหนังสือราชการ
- งานลงทะเบียนรับหนังสือราชการ
- งานลงรับหนังสือราชการ
- งานรับคำร้องขอลดเบี้ยปรับ
- งานเช็คทีมกำกับ
- งานที่เกี่ยวกับหนังสือราชการที่ต้องแก้ไข หรือตรวจเช็ค
โดยงานเหล่านี้ทำในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของกรมสรรพากรเอง ซึ่งจะเป็นเว็บไซต์การทำงานของกรมสรรพากร คือ http://rdsrv.rd.go.th แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์กรมสรรพากรธรรมดาจะเป็นดังนี้ www.rd.go.th และมีงานที่ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่นบ้าง เช่น
- งานลงรับแบบ ภ.ง.ด. จะเป็นการใช้ โปรแกรม Microsoft Excel
- งานพิมพ์หนังสือราชการ ก็ใช้โปรแกรม Microsoft Word
- นอกจากนั้นก็จะเป็นงานที่ใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปเช่น ถ่ายเอกสาร ส่งแฟ็กซ์ รับโทรศัพท์
- งานรับหนังสือจากหน้าห้องท่านไปส่งตามทีมกำกับ
- และมีงานที่นอกเหนือจากนี้บ้างแล้วแต่เจ้าหน้าที่จะใช้ให้ทำ เช่น ออกไปช่วยทำกิจกรรมข้างนอก หรืองานอื่นๆที่สามารถช่วยทำได้
วันพฤหัสบดีที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
โดยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นประจำในฝ่ายบริหารทั่วไปจะเน้นไปที่งานธุรการ ที่ทำอยู่เป็นประจำคือ
- งานออกเลขหนังสือราชการ
- งานลงทะเบียนรับหนังสือราชการ
- งานลงรับหนังสือราชการ
- งานรับคำร้องขอลดเบี้ยปรับ
- งานเช็คทีมกำกับ
- งานที่เกี่ยวกับหนังสือราชการที่ต้องแก้ไข หรือตรวจเช็ค
โดยงานเหล่านี้ทำในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของกรมสรรพากรเอง ซึ่งจะเป็นเว็บไซต์การทำงานของกรมสรรพากร คือ http://rdsrv.rd.go.th แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์กรมสรรพากรธรรมดาจะเป็นดังนี้ www.rd.go.th และมีงานที่ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่นบ้าง เช่น
- งานลงรับแบบ ภ.ง.ด. จะเป็นการใช้ โปรแกรม Microsoft Excel
- งานพิมพ์หนังสือราชการ ก็ใช้โปรแกรม Microsoft Word
- นอกจากนั้นก็จะเป็นงานที่ใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปเช่น ถ่ายเอกสาร ส่งแฟ็กซ์ รับโทรศัพท์
- งานรับหนังสือจากหน้าห้องท่านไปส่งตามทีมกำกับ
- และมีงานที่นอกเหนือจากนี้บ้างแล้วแต่เจ้าหน้าที่จะใช้ให้ทำ เช่น ออกไปช่วยทำกิจกรรมข้างนอก หรืองานอื่นๆที่สามารถช่วยทำได้
วันศุกร์ที่ 7 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
โดยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นประจำในฝ่ายบริหารทั่วไปจะเน้นไปที่งานธุรการ ที่ทำอยู่เป็นประจำคือ
- งานออกเลขหนังสือราชการ
- งานลงทะเบียนรับหนังสือราชการ
- งานลงรับหนังสือราชการ
- งานรับคำร้องขอลดเบี้ยปรับ
- งานเช็คทีมกำกับ
- งานที่เกี่ยวกับหนังสือราชการที่ต้องแก้ไข หรือตรวจเช็ค
โดยงานเหล่านี้ทำในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของกรมสรรพากรเอง ซึ่งจะเป็นเว็บไซต์การทำงานของกรมสรรพากร คือ http://rdsrv.rd.go.th แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์กรมสรรพากรธรรมดาจะเป็นดังนี้ www.rd.go.th และมีงานที่ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่นบ้าง เช่น
- งานลงรับแบบ ภ.ง.ด. จะเป็นการใช้ โปรแกรม Microsoft Excel
- งานพิมพ์หนังสือราชการ ก็ใช้โปรแกรม Microsoft Word
- นอกจากนั้นก็จะเป็นงานที่ใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปเช่น ถ่ายเอกสาร ส่งแฟ็กซ์ รับโทรศัพท์
- งานรับหนังสือจากหน้าห้องท่านไปส่งตามทีมกำกับ
- และมีงานที่นอกเหนือจากนี้บ้างแล้วแต่เจ้าหน้าที่จะใช้ให้ทำ เช่น ออกไปช่วยทำกิจกรรมข้างนอก หรืองานอื่นๆที่สามารถช่วยทำได้

4.2 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ได้นำหลักความรู้ความสามารถในหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพพอสมควร ตามรายละเอียดดังนี้
4.2.1 ด้านความรู้
- การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ เช่น การติดต่อกับกรมสรรพากร การติดต่อกับ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครเขตอื่นๆ เป็นต้น
- การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทต่างๆ ห้างหุ้นส่วนจำกัดต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่และเล็กที่จะต้องทำธุรกรรมด้านภาษีต่างๆ เป็นต้น
- ขั้นตอนการส่งและรับหนังสือราชการ
- รู้ระบบขั้นตอนในการดำเนินงานในฝ่ายบริหารทั่วไป ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ซึ่งเป็นระบบการทำงานของหน่วยงานราชการทั่วไป
- รู้เรื่องการเสียภาษี และการดำเนินการเสียภาษีในบางส่วน



4.2.2 ด้านทักษะการปฏิบัติงาน
- การทำงานในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของหน่วยงานสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เอง
- การพิมพ์หนังสือราชการด้วย โปรแกรม Microsoft Word
- การลงรับข้อมูลแบบ ภ.ง.ด. ด้วย โปรแกรม Microsoft Excel
- การใช้อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ เช่น การถ่ายเอกสาร การส่งแฟ็กซ์
- การจัดระบบงานด้านเอกสารต่างๆที่สำคัญ ในหน่วยงาน
- การใช้ทักษะในการสนทนาทางโทรศัพท์ และการสนทนากับผู้ร่วมงาน
- การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน การให้ความเคารพแก่ผู้ร่วมงาน
- การพัฒนาบุคลิกภาพของตัวเองในที่ทำงานให้เหมาะสม
- การบริหารเวลาให้เป็นคนที่ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ และรู้หน้าที่ของตัวเองอยู่เสมอ

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ

3.1 ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การดำเนินการในการขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นเป็นส่วนที่สำคัญมากในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่จะต้องคำนึงถึงเพราะจะต้องหาหน่วยงานที่ประกอบกิจการที่มีลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ศึกษามาให้ใกล้เคียงที่สุด และเมื่อมั่นใจแล้วว่าหน่วยงานที่ไปขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นค่อนข้างตรงตามหลักสูตรที่เรียนมาบ้างหลังจากนั้นก็ต้องดำเนินการในการขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1.1 ขอคำแนะนำในการฝึกประสบการณ์จากอาจารย์ที่ปรึกษา
3.1.2 หาข้อมูลหน่วยงานสถานที่ที่จะไปขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.3 เข้าไปสอบถามข้อมูลเพื่อขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับฝ่ายบุคคลของหน่วยงานที่จะไปขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.4 เมื่อหน่วยงานที่ไปขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้ตอบรับให้เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานได้ก็ขอรายละเอียดในการดำเนินงานบางส่วนของหน่วยงานไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาว่าสามารถเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้หรือไม่
3.1.5 เมื่อได้หน่วยงานที่ขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพแล้วก็ขอหนังสือขอฝึก ประสบการณ์วิชาชีพจากทาง แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3.1.6 ส่งรายละเอียดการขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพไปยังแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขออนุมัติในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.7 เมื่อทางแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้อนุมัติการขอฝึกประสบการณ์จากหย่วยงานที่เสนอไปแล้วหลังจากนั้นก็รับฟังคำชี้แจงรายละเอียดการฝึกประสบการณ์จากทาง แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและรับหนังสือรายงานตัวและแบบประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.8 นำหนังสือรายงานตัวและแบบประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ไปยื่นให้กับหน่วยงานที่ขอฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามเวลาที่ทางแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้กำหนดไว้พร้อมกับไปรายงานตัวและเริ่มการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นวันแรก
3.1.9 ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจนครบกำหนดเวลาที่ทางแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้กำหนดไว้ โดยตลอดระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจะมีใบลงเวลาและใบบันทึกการปฏิบัติงานที่นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพจะต้องทำการลงข้อมูลทุกวันและให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเซ็นชื่อรับทราบทุกวัน
3.1.10 เมื่อทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจนครบกำหนดเวลาแล้วทางหน่วยงานจะทำการประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพตลอดการฝึกที่ผ่านมาแล้วทำการปิดผนึกและเซ็นชื่อกำกับแบบประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแล้วให้คืนแก่นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อจะนำไปให้อาจารย์นิเทศที่เป็นผู้รับผิดชอบนักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

3.2 วิธีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 มีรายละเอียดในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ดังนี้
โดยการฝึกประสบการณ์ ในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ได้รับการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพในฝ่ายบริหารทั่วไป ซึ่งมีการดำเนินการเกี่ยวกับ งานธุรการ งานการเงิน งาน-พัสดุ งานแบบแสดง/ประชาสัมพันธ์ งานบริการผู้เสียภาษี (คัดแบบ) งานเลข โดยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเป็นประจำในฝ่ายบริหารทั่วไปจะเน้นไปที่งานธุรการ และงานธุรการที่ทำอยู่หลักๆเป็นประจำทุกวัน
3.2.1 โดยงานจะทำในระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของกรมสรรพากรเอง ซึ่งจะเป็นระบบอินเตอร์เน็ตโดยจะเป็นเว็บไซต์การทำงานของกรมสรรพากร คือ http://rdsrv.rd.go.th/ ซึ่งในการทำงานในระบบนั้นจะต้องคีย์รหัสผ่านทุกครั้งถึงจะเข้าใช้งานได้ โดยเจ้าหน้าที่แต่ละคนจะมีรหัสผ่านเป็นของใครของมัน ซึ่งงานที่ต้องทำในอินเตอร์เน็ตของเว็บไซต์กรมสรรพากรมีดังรายละเอียดต่อไปนี้
- งานออกเลขหนังสือราชการ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานตามทีมกำกับต่างๆตั้งแต่ทีม 1-9 และฝ่ายต่างๆใน สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 จะนำหนังสือราชการที่ทำมาแล้วหรือจะเป็นสำนวนเหล่านี้มาให้ฝ่ายธุรการออกเลขหนังสือราชการให้แล้วนำเลขที่ออกแล้วในระบบไปเขียนลงในหนังสือราชการหรือสำนวนที่เจ้าหน้าที่เอามาให้ออกเลขโดยจะใช้ปากกาเขียนเลยในหนังสือราชการเท่านั้น
- งานลงรับหนังสือราชการ โดยจะเป็นการลงรับหนังสือราชการจากสถานประกอบการภายนอกอื่นๆ และจากสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครเขตอื่นที่จะทำธุรกรรมกับทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 โดยจะรับจากบุรุษไปรษณีย์ที่มาส่งให้แล้วทำแกะซองหนังสือราชการและแบบ ภ.ง.ด. และแยกประเภทของงานออกเป็นส่วนๆ แล้วทำการลงรับโดยจะมีตรายางลงรับก็ทำการประทับตราลงรับและประทับตราฝ่ายต่างๆ ที่หนังสือราชการได้ระบุไว้ตามเนื้อเรื่องและประทับตราวันที่ หลังจากนั้นก็นำมาลงรับเข้าไปในระบบเพื่อส่งไปยังฝ่ายต่างๆตามที่ระบุไว้โดยในหนังสือจะระบุเลขหนังสือมาให้เพื่อจะทำการลงรับในระบบตามเลขนั้นๆ เมื่อลงรับเสร็จก็เสนอไปยังหัวหน้าส่วนของฝ่ายบริหารทั่วไปให้เซ็นเมื่อเซ็นแล้วก็นำหนังสือไปส่งตามทีมแต่หากเป็นหนังสือที่สำคัญก็จะเสนอไปยังท่านสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ต่อไป
- ลงทะเบียนรับหนังสือราชการ คือจะมีหนังสือราชการหรือสำนวนจากเจ้าหน้าที่ที่ทำงานตามทีมกำกับต่างๆตั้งแต่ทีม 1-9 และฝ่ายต่างๆใน สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 มาเสนอที่หน้าห้องท่านสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เพื่อพิจารณาและลงทะเบียนรับเข้าไปในระบบงานของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เพื่อออกเลขหนังสือราชการ โดยเจ้าหน้าที่จะมีเลขอ้างอิงมาให้ในสำนวนหรือหนังสือราชการเพื่อให้ลงทะเบียนรับได้ก็หมดขั้นตอนนี้
ไป
- งานรับคำร้อง จะเป็นงานที่บริษัทหรือหน่วยงานภายนอกที่ต้องเสียภาษีจะต้องทำคำร้องขอยื่นแบบและคำร้องขอลดเบี้ยปรับแล้วรับเอกสารที่ยื่นมาทำการลงรับใหม่ในระบบ
3.2.2 งานที่ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่นบ้าง เช่น
- งานลงรับแบบ ภ.ง.ด. โดยจะมีแบบ ภ.ง.ด. จากสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครจากเขตอื่นส่งมาแล้วมาทำการคัดแยกประเภทของแบบแล้วก็นำไปลงรับซึ่งจะเป็นการใช้ โปรแกรม Microsoft Excel เมื่อลงรับเสร็จก็จะนำไปเสนอให้หัวหน้าส่วนบริหารทั่วไปเซ็นอนุมัติ
- งานพิมพ์หนังสือราชการ ก็ใช้โปรแกรม Microsoft Word
3.2.3 งานส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้โปรแกรม เช่น
- งานเวียนหนังสือราชการ คือจะมีหนังสือราชการให้ส่งตามทีมกำกับและฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ตามที่ในหนังสือระบุไว้โดยตัวหนังสือนั้นจะประกอบไปส่วนที่เป็นตัวจริงและสำเนาโดยจะเวียนให้เจ้าหน้าที่เซ็นรับหนังสือโดยเซ็นรับที่ตัวสำเนาแล้วเอาตัวจริงให้เจ้าหน้าที่ไปเก็บส่วนสำเนาไว้เพื่อจะคืนให้ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องก็จะเวียนจนครบทุกทีมตามที่หนังสือราชการระบุไว้ ก็เป็นจบงานตัวนี้
- รับงานจากหน้าห้องท่านสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เมื่อรับงานมาแล้วก็ทำการส่งให้ตามทีมหรือฝ่ายที่ระบุไว้ในหนังสือราชการจนครบ
- ส่งงานให้ตามทีมกำกับและฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
3.2.4 นอกจากนั้นก็จะเป็นงานที่ใช้อุปกรณ์สำนักงานทั่วไปเช่น ถ่ายเอกสาร ส่งแฟ็กซ์ รับโทรศัพท์

3.3 การวิเคราะห์ SWOT การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์ จุดแข็ง(Strength : S) จุดอ่อน(Weakness : W) โอกาส(Opportunities : O)และอุปสรรค(Threat : T) โดยจะวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน เพื่อจะพิจารณาถึงโอกาส(Opportunities : O) อุปสรรค(Threat : T) กับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานเพื่อพิจารณาถึง จุดแข็ง(Strength : S) จุดอ่อน(Weakness : W) ของหน่วยงานทั้งในปัจจุบัน อนาคต ซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นจะเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง(Strength : S) จุดอ่อน(Weakness : W) โอกาส(Opportunities : O)และอุปสรรค(Threat : T) เกี่ยว กับตัวเองในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ซึ่งการวิเคราะห์ SWOT เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยจะทำให้ผู้ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้รู้ว่าตัวเองมีสิ่งไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือสิ่งไหนที่ดีแล้วก็ควรพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปเพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้เมื่อจบการศึกษาออกไปประกอบอาชีพต่อไป มีรายละเอียดดังนี้
3.3.1 จุดแข็ง (Strength : S) คือ สถานการณ์ ความสามารถที่เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ข้าพเจ้าได้มีจุดแข็ง (Strength : S) ดังนี้
1) เข้าใจงานที่ได้รับมอบหมายได้เร็ว
2) ทำงานได้เร็วคล่องแคล่ว
3) ทำงานไม่ค่อยผิดพลาด
4) อัธยาศัยดี
3.3.2 จุดอ่อน (Weakness : W) คือ การด้อยความสามารถการไม่สามารถนำหน้าที่ต่างๆของตนเองมาใช้เป็นประโยชน์ดำเนินงานในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ข้าพเจ้าได้มีจุดอ่อน (Weakness : W) ดังนี้
1) พูดไม่ค่อยเก่ง ไม่ฉะฉาน ค่อนข้างเงียบ
2) ขี้อายไม่ค่อยกล้าแสดงออก
3) ไม่มั่นใจในตัวเอง

3.3.3 โอกาส (Opportunities : O) คือ ปัจจัย สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ข้าพเจ้าได้มีโอกาส (Opportunities : O) ดังนี้
1) มีโอกาสได้รู้ข่าวสารภายในของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ได้รวดเร็วก่อนบุคคลภายนอกซึ่งเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เช่น ข่าวสารด้านการสอบเข้าทำงานการรับสมัครงานของกรมสรรพากร
2) ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินการเรื่องภาษีได้ดีกว่าบุคคลภายนอก
3)มีโอกาสที่หน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพอยู่จะติดต่อให้เข้าทำงานในหน่วยงานต่อไป
3.3.4 อุปสรรค (Threat : T) คือ ปัจจัย สถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ข้าพเจ้าได้มีอุปสรรค (Threat : T) ดังนี้
1) ตื่นสาย
2) ชอบง่วงนอนเวลาทำงาน

บทที่ 2 สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27

บทที่ 2
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27


2.1 ประวัติความเป็นมา
ประวัติสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมสรรพากร สังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 3 จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2539 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากรกระทรวงการคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บภาษีอากรในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ โดยการควบคุมและติดตามผลการจัดเก็บอากรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
พื้นที่ในความรับผิดชอบ มี 5 เขต ตามการแบ่งเขตของกระทรวงมหาดไทย แต่เป็น 3 สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาของกรมสรรพากร
1. เขตบางขุนเทียน สรรพากรพื้นที่สาขาบางขุนเทียน
2. เขตบางบอน สรรพากรพื้นที่สาขาบางขุนเทียน
3. เขตราษฎร์บูรณะ สรรพากรพื้นที่สาขาราษฎร์บูรณะ
4. เขตทุ่งครุ สรรพากรพื้นที่สาขาราษฎร์บูรณะ
5. เขตจอมทอง สรรพากรพื้นที่สาขาจอมทอง

ประวัติสรรพากร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางแผนปฏิรูปการปกครองแล้ว ก็ได้ทรงวางระเบียบกิจการคลังใหม่โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นในปี พ.ศ. 2416 เพื่อเก็บรายได้ภาษีอากรของแผ่นดินมารวมไว้ ณ ที่แห่งเดียว ต่อมาจึงยกเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีเสนาบดีประจำต่างหากในปีพ.ศ. 2435 การภาษีอากรก็ได้ทรงปรับปรุงใหม่ โดยแต่งตั้งข้าหลวงคลังไปประจำทุกจังหวัดและทุกมณฑลเพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรงแล้วรวบรวมรายได้ทั้งหมดส่งมารวมไว้ ณ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ราษฎรไม่ต้องเสียภาษีอากรมากน้อยลักลั่นกันเหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้ย่อมเป็นการปรับปรุงระบบการคลังอย่างยิ่งใหญ่ ทำให้ผลประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ในด้านรายจ่ายก็ทรงวางพิกัดอัตราเงินเดือนให้แก่ข้าราชการตามตำแหน่งเป็นที่แน่นอนแทนเงินเบี้ยหวัดที่จ่ายแต่เดิม และยังพระราชทานเบี้ยบำนาญแก่ข้าราชการเพื่อเป็นเครื่องเลี้ยงชีพเมื่อรับราชการไม่ได้แล้ว อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2439 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก อันเป็นแบบฉบับที่จะต้องทำงบประมาณแผ่นดินสืบมาทุกปี
ครั้นปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) ประเทศไทยต้องประสบวิกฤตทางการเมืองอย่างหนัก ด้วยฝรั่งเศสยกกองทหารมารุกรานดินแดนฝั่งแม่น้ำโขง รัฐบาลจำเป็นต้องส่งทหารไปตั้งรับข้าศึกที่เมืองอุบลราชธานี ทำให้เมืองปราจีนบุรีมีความสำคัญ ทางด้านยุทธศาสตร์และทาง การเมืองขึ้น ฉะนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งเมืองปราจีนบุรีเป็นมณฑลขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และโปรดให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุกร์ ชูโต) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล ต่อมาในการประชุม สมุหเทศาภิบาลครั้งแรกในปี พ.ศ. 2438 พระยาฤทธิรงค์รณเฉท กราบทูลเสนาบดีกระทรวง มหาดไทยว่าอากรค่าน้ำในมณฑลปราจีนบุรี รัฐบาลได้รับเงินอากรเข้าพระคลัง น้อยกว่าเท่าที่ควรจะได้ เพราะนายอากรที่รับผูกขาดไม่มีเวลาที่จะเก็บได้ทั่วถึง ถ้าให้สมุหสมุหเทศาภิบาลจัดเก็บอากรค่าน้ำและ ให้รางวัลส่วนลดแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ให้เป็นพนักงานเก็บจะได้เงินหลวงเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงนำความไปกราบทูลกรมขุนศิริธัชสังกาศ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติซึ่งไม่ทรงเห็นชอบด้วย ดังปรากฎข้อความในหนังสือ สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น มีหนังสือทูลสมเด็จกรมพระยานริศราฯ ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2478 อธิบายเรื่องเปลี่ยนวิธีเก็บภาษีอากรดังนี้
หลายปีมาแล้วเมื่อ เซอร์ เอดวาร์ด กุ๊ก ยังเป็นที่ปรึกษากระทรวงพระคลัง วันหนึ่งมาหาหม่อมฉันที่วังวรดิศ พูดขึ้นว่า แกตรวจดูจำนวนเงินแผ่นดินที่ได้รับประจำปีย้อนถอยหลังขึ้นไปถึงรัชกาลที่ 5 เกิดประหลาดใจด้วยเห็นเงินจำนวนรายได้ตั้งแต่ ค.ศ. 1896 ( พ.ศ. 2439 ) เพิ่มขึ้นปีละมากๆ ไปตรวจดูทางภาษีอากร ก็ไม่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นรัฐบาลได้ตั้งภาษีอากรอย่างใดขึ้นใหม่ หรือเพิ่มพิกัดอัตราภาษีเก่าอย่างใดอีก คิดไม่เห็นว่าเงินแผ่นดินเพิ่มขึ้นมากมายด้วยเหตุใด ถามพวกข้าราชการกระทรวงพระคลังที่รับราชการอยู่ในเวลานี้ก็ไม่มีใครรู้ แกนึกว่าบางทีหม่อมฉันจะทราบเหตุเพราะตัวหม่อมฉันทำราชการในสมัยนั้นจึงมาถาม หม่อมฉันตอบว่า เหตุที่เงินแผ่นดินได้มากขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2439 นั้น หม่อมฉันทราบอยู่พอจะอธิบายได้ แต่นึกขวยใจอยู่หน่อยด้วยเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับตัวหม่อมฉันอยู่บ้าง ขออย่าให้แกเข้าใจว่าหม่อมฉันเล่าอวดดีสำหรับตัว เพราะที่จริงเป็นความคิดและช่วยกันทำหลายคน แล้วหม่อมฉันจึงเล่าเรื่องตามที่เป็นมาให้เซอร์ เอดวาร์ด กุ๊กฟังก็พอใจ แต่เรื่องที่หม่อมฉันเล่านั้นยังไม่เคยจดลงเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะเมื่อเซอร์ เอดวาร์ด กุ๊ก มาถามยอดจำนวนเงินด้วยวาจา หม่อมฉันจำจำนวนเงินไม่ได้ พึ่งมาพบบัญชีจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นครั้งนั้นเมื่อเร็วๆนี้ หม่อมฉันจึงเห็นควรจะเขียนทูลบรรเลงในจดหมายประจำสัปดาห์ ได้เรื่องอันเป็นมูลเหตุมีดังกล่าวต่อไปนี้
เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกรุณาโปรดฯให้หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ ร.ศ.111 ( พ.ศ. 2435 ) นั้นทรงพระราชดำริถึงลักษณะการปกครองหัวเมืองที่จะจัดต่อไปในภายหน้าเป็นยุติ 3 ข้อ คือ
ข้อ 1จะรวบรวมการบังคับบัญชาหัวเมือง ซึ่งเคยแยกกันอยู่ 3 กระทรวงคือ มหาดไทย กลาโหม กรมท่า ให้มารวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว
ข้อ 2 จะรวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลตามสมควรแก่ภูมิลำเนา ให้สะดวกแก่การปกครองและมีสมุหเทศาภิบาลบังคับบัญชาการทุกมณฆล
ข้อ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ทรงพระราชดำริ จะค่อยจัดไปเป็นชั้นๆมิให้เกิดการยุ่งเหยิงในการเปลี่ยนแปลง
ในปีแรก หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นแต่ศึกษาหาความรู้ราชการในกระทรวง กับออกไปตรวจตามหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งภายหลังจัดเป็นมณฑลอยุธยา มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพิษณุโลก กับทั้งเมืองสุพรรณบุรี (เวลานั้นเมืองนครชัยศรียังขึ้นอยู่กรมท่า) เพื่อหาความรู้มาคิดกะรายการที่จะจัดต่อไป ครั้นปีต่อมาถึง ร.ศ.112 ( พ.ศ. 2436 ) เผอิญเกิดเหตุวิวาทกับฝรั่งเศส จะต้องส่งทหารไปเมืองอุบลทางเมืองปราจีนบุรีเพื่อจะให้สะดวกแก่การส่งทหาร จึงโปรดให้จัดตั้งมณฑลปราจีนขึ้นก่อนและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุกร์ ชูโต) เป็นสมุหเทศาภิบาลคนแรก ต่อมาอีกปีหนึ่งจึงตั้งมณฑลอยุธยา มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพิษณุโลกและตั้งมณฑลอื่นในปีต่อๆมา
ในสมัยนั้น การเก็บภาษีอากรทั้งที่กรุงเทพฯและตามหัวเมืองยังใช้วิธีกระทรวงพระคลังเรียกประมูลให้มีผู้รับผูกขาดไปเก็บภาษีอากรต่างๆ ทุกปี พระยาฤทธิรงค์ฯได้ไปจัดมณฑลปราจีนก่อนมณฑลอื่นอยู่ปีหนึ่ง รู้การในท้องที่ดีกว่าสมุหเทศาภิบาลคนอื่น เมื่อมีการประชุมสมุหเทศาภิบาลครั้งแรกในพ.ศ. 2438 พระยาฤทธิรงค์ฯมาบอกหม่อมฉันว่าอากรค่าน้ำในมณฑลปราจีนเงินหลวงที่ได้เข้าพระคลังยังน้อยกว่าที่ควรจะได้อยู่มาก เพราะนายอากรที่รับผูกขาดไป มีเวลาที่จะเก็บเฉพาะปีหนึ่ง ต้องรีบจัดเก็บให้ได้กำไรภายในเวลาที่ตนมีอำนาจ เพราะฉะนั้นใครจะเข้าว่าประมูลก็ต้องกะจำนวนเงินให้ได้ต่ำด้วยกลัวขาดทุน ยกตัวอย่างดังอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรีมึผู้รับประมูลเสนอเพียงปีละ 2,400 บาทเท่านั้น แม้จำนวนเงินเพียงเท่านั้น ใครเป็นนายอากร ยังต้องไปใช้วิธีเก็บเลี่ย
พระราชบัญญัติ เช่น คิดอุบายว่ากล่าวให้ราษฎรยอมเสียค่าน้ำเหมาตามครัวเรือน เป็นต้น เพื่อจะให้ได้เงินโดยเร็ว แต่ที่จริงนั้นนายอากรเก็บค่าน้ำได้แต่ราษฎรที่อยู่ใกล้ๆ พวกที่อยู่ห่างไกลออกไปนายอากรก็ไม่สามารถจะเก็บไปถึง ยังมีคนที่ไม่ต้องไปเสียภาษีอากรค่าน้ำอยู่โดยมาก พระยาฤทธิรงค์ฯเห็นว่าถ้าให้เทศาภิบาลเก็บอากรค่าน้ำให้ส่วนลดแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่ใช้เป็นพนักงานเก็บ จะได้เงินหลวงเพิ่มขึ้นอีกมากหม่อมฉันเห็นชอบด้วยจึงนำความไปทูล กรมขุนศิริธัชสังกาศ
ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังอยู่เวลานั้น ท่านไม่ทรงเห็นชอบด้วยตรัสว่า นายอากรไม่ส่งเงินฉันเอาตัวขังได้ ถ้าเทศาฯไม่ส่งเงิน ฉันเอามาขังไม่ได้ เงินหลวงก็จะสูญ เมื่อท่านตรัสอย่างนั้นหม่อมฉันก็จนใจ ต่อมาเมื่อใกล้จะสิ้นปี วันหนึ่งกรมขุนศิริธัชฯเสด็จมาหาหม่อมฉันที่กระทรวงมหาดไทย ตรัสถามว่าที่พระยาฤทธิรงค์ฯจะรับเก็บอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรี จะรับได้จริงๆหรือ หม่อมฉันทูลถามว่าเหตุใดจึงจะกลับโปรดให้พระยาฤทธิรงค์ฯเก็บอากรค่าน้ำ ตรัสบอกว่านายอากรเดิมร้องขาดทุน ขอลดเงินอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรี ผู้อื่นก็ไม่มีใครเข้าประมูลดูเหมือนจะนัดแนะกันโกงกระทรวงพระคลัง จึงทรงพระดำริเปลี่ยนมาให้เทศาฯเก็บ หม่อมฉันทูลถามว่าจะต้องพระประสงค์ให้ส่งจำนวนเงินสักเท่าใด ตรัสตอบว่าเพียง
เท่าที่นายอากรผูกขาดไปปีก่อน อย่าให้เงินหลวงลดลงก็พอพระหฤทัย หม่อมฉันจึงบอกไปยังพระยาฤทธิรงค์ฯตอบมาว่าจะรับเก็บและจะส่งเงินหลวงให้ได้เท่าที่นายอากรผูกขาด แนะมาให้หม่อมฉันทำความตกลงกับกระทรวงพระคลัง ข้อหนึ่งว่า ถ้าเทศาฯเก็บเงินอากรค่าน้ำได้มากกว่าจำนวนที่นายอากรรับผูกขาดขึ้นไปเท่าใด ขอให้กระทรวงพระคลังอนุญาต ให้กระทรวงมหาดไทยใช้เงินที่เพิ่มขึ้นบ้าง ปลูกสร้างสถานที่ว่าการและที่พักข้าราชการในมณฑลปราจีนซึ่งต้องการเงินอยู่ หม่อมฉันไปทูลกรมขุนศิริธัชฯ ก็ทรงยอมทำตามคำพระยาฤทธิรงค์ฯ แต่การที่มอบอำนาจให้เทศาฯเก็บอากรค่าน้ำครั้งนั้นอยู่ข้างแปลก ด้วยกรมขุนศิริธัชฯมีรับสั่งให้ออกท้องตรานกวายุภักษ์ กระทรวงการคลัง ตั้งให้พระยาฤทธิรงค์รเฉท เป็นขุนมัจฉาฯ (สร้อยว่ากระไรหม่อมฉันจำไม่ได้) ตำแหน่งนายอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรี พระยาฤทธิรงค์ฯยังคุยอวดอยู่จนแก่ว่าตัวแกคนเดียวที่เป็นพระยากินพานทองแล้วได้เลื่อนเป็นขุนและว่ายังเก็บท้องตรากระทรวงพระคลังฉบับนั้นไว้เป็นที่ระลึก เพราะเหตุใดกรมขุนศิริธัชฯท่านจึงทรงทำเช่นนั้น มาคิดดูภายหลังจึงเห็นว่าท่านเตรียมเผื่อ
พระนาฤทธิรงค์ฯจะทำไม่ได้ดังรับปีหน้าจะได้ตั้งคนอื่นได้สะดวกไม่ต้องขอโอนหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทย แต่พระยาฤทธิรงค์ฯเก็บเงินอากรค่าน้ำ เมืองปราจีนบุรี ได้มากกว่าจำนวนเงินที่นายอากรเคยเก็บรับผูกขาดหลายเท่า กระทรวงมหาดไทยก็เริ่มแลเห็นว่า การที่จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลอาจจะจัดการเก็บเงินภาษีอากรซึ่งเป็นวิธีรัฐบาลเก็บเอง ให้เงินผลประโยชน์แผ่นดินเพิ่มขึ้นได้อีกมาก แต่ยังไม่ทันไปพูดกับกระทรวงพระคลังกรมขุนศิริธัชฯเสด็จออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังเสียก่อนจึงยังมิได้จัดการแก้ไขอย่างไร
พอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสด็จมาเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังทราบเรื่องพระยาฤทธิรงค์ฯเก็บอากรค่าน้ำ ก็ทรงเลื่อมใสในการเปลี่ยนแปลงนั้น แล้วอนุญาตให้เทศาฯเริ่มจัดการเก็บภาษีอากรและต่อมากรมหมื่นมหิศรฯให้กรมสรรพากรเป็นพนักงานเก็บภาษีอากร และพาฝรั่งผู้ชำนาญเข้ามาจัดระเบียบ ได้มิสเตอร์เกรแฮมมาเป็นเจ้ากรมสรรพากรใน โอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาลได้มิสเตอร์ไยล์ (ซึ่งภายหลังได้เป็นพระยาอินทรมนตรีศรีจันทรกุมาร) เป็นเจ้ากรมสรรพากรนอก โอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย ตั้งหน้าจัดวิธีเก็บอากรด้วยเลิกผูกขาดเปลี่ยนเป็นรัฐบาลเก็บเองเป็นอย่างๆมา และการที่จัดนั้นค่อยจัดขยายออกไปเป็นมณฑลๆ จำนวนเงินจึงได้เพิ่มขึ้นเป็นรายปี"
ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครอง โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้นแล้วนั้น เกิดมีปัญหาเรื่องเงินค่าใช้จ่าย เงินเดือนข้าราชการ ค่าใช้สอย เงินสำหรับปลูกสร้างสถานที่ราชการและบ้านพักข้าราชการตามมณฑล กระทรวงพระคลังในสมัยนั้นไม่มีเงินพอจ่าย เงินส่วนมากยังติดค้างอยู่กับเจ้าภาษีนายอากรและเจ้าขุนมูลนายต่างๆ การจัดเก็บเงินรายได้ตามจังหวัดต่างๆยังหละหลวมไม่รัดกุม มีทางรั่วไหลอยู่มาก วิธีการจัดเก็บก็ล้าสมัย เมื่อได้ตั้งกระทรวงขึ้นแล้ว กระทรวงที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ล้าสมัย เมื่อได้ตั้งกระทรวงขึ้นแล้ว กระทรวงที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีไม่สามารถจัดเก็บหรือปฏิบัติงานให้ดำเนินไปตามความประสงค์ของรัฐบาลได้ ก็ส่งให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงต้องรับภาระเป็นตัวแทนของกระทรวงพระคลัง ในการจัดหาเงินผลประโยชน์และเร่งรัดเงินค้าง ฉะนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องแสวงหาคนที่มีความรู้ความสามารถตลอดจนความชำนาญงานมาปรับปรุงแก้ไข และดำเนินการจัดเก็บภาษีให้สัมฤทธิผลสมความมุ่งหมาย
มิสเตอร์ เอฟ.เอช.ไยล์ เป็นชนชาติอังกฤษ ชาวเมืองพลีมัธ เริ่มเข้ารับราชการในกระทรวงอาณานิคมมาฝึกงานอยู่ในประเทศอินเดียและเริ่มทำงานอยุ่ในประเทศพม่าตั้งแต่เป็นเสมียนฝึกหัดจนได้เลื่อนเป็นปลัดอำเภอ เป็นผู้ที่มีความรู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ กฎหมาย ตลอดจนงบประมาณการเงินของอังกฤษเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีความรู้ภาษาต่างประเทศทางตะวันออกอีกหลายภาษา รัฐบาลได้ขอยืมตัว มิสเตอร์ เอฟ.เอช.ไยล์ จากข้าราชการอังกฤษ มาช่วยราชการงานด้านการคลัง ในพ.ศ. 2440 โดยเริ่มเก็บภาษีที่มณฑลปราจีน มิสเตอร์ เอฟ.เอช.ไยล์ ได้ทำงานมีประสิทธิภาพได้ประโยชน์แก่ทางราชการเป็นอย่างมาก ระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่การเดินสำรวจเร่งรัดที่นาที่เมืองปราจีนนั้น ได้พบข้อบกพร่องต่างๆในการจัดเก็บภาษีอากรค่านา จึงได้รายงานให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยทรงทราบพร้อมทั้งวิธีการแก้ไข ต่อมาได้โปรดให้ขยายการเก็บภาษีอากรออกไปยังมณฑลต่างๆ ทุกมณฑล ยกเว้นมณฑลกรุงเทพฯ เมื่อได้ทรงเห็นว่า มิสเตอร์ เอฟ.เอช.ไยล์ มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่ดินและการสรรพากร จึงได้ทรงแต่งตั้งให้ มิสเตอร์ เอฟ.เอช.ไยล์ เป็นเจ้ากรมสรรพากรนอกขึ้นอยู่ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในชั้นต้นมีสำนักงานตั้งอยู่ที่มณฑลปราจีนบุรี ภายหลังมิสเตอร์ เอฟ.เอช.ไยล์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอินทรมนตรีศรีจันทรกุมาร ต่อมาปี พ.ศ. 2441 มิสเตอร์ ริเวต คาร์แนค ชนชาติอังกฤษ ตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ทำรายงานกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเรื่องการสรรพากร มีใจความตอนหนึ่งว่า
"ในประเทศต่างๆรวมทั้งอินเดีย ซึ่งได้จัดการคลังและสรรพากร เป็นระเบียบเรียบร้อยแล้วนั้น ประเทศเหล่านั้นได้แยกการสรรพากรหรือการเก็บภาษีอากรให้อยู่ในมือของเจ้าพนักงานพวกหนึ่ง และการคลังหรือการเก็บรักษาผลประโยชน์แผ่นดินให้อยู่ในมือของเจ้าพนักงานอีกพวกหนึ่ง เพื่อสำหรับคุ้มกันมิให้เจ้าพนักงานทั้ง 2 พวกนี้รวมเข้ากันได้ เพราะเคยมีตัวอย่างมาแล้วในประเทศอื่นๆ ว่าถ้ารวมเข้าอยู่ในมือของเจ้าพนักงานพวกเดียวกันแล้ว เจ้าพนักงานทั้ง 2 ฝ่ายเคยสมคบกันฉ้อเงิน ผลประโยชน์แผ่นดินอันเป็นการเหลือวิสัยที่รัฐบาลจะป้องกันได้ เพราะมีทาง อาจจะทำทุจริตได้ในวิธีการสำรวจบัญชีซึ่งยากที่จะจับได้ และว่าตามวิธีปกครองของประเทศสยามนั้น เจ้าพนักงานที่เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บเงินผลประโยชน์แผ่นดินทั้งปวง มีเจ้าพนักงานของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในท้องที่แล้วคือ เจ้าเมือง อำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพราะฉะนั้นควร แยกการสรรพากรเก็บผลประโยชน์แผ่นดินออกเป็นคนละพวกกับการคลังหรือการรักษาเงิน"มิสเตอร์ ริเวต คาร์แนค เห็นว่าควรแยกการสรรพากรไปไว้ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้แยกเป็นเจ้าพนักงานพวกหนึ่งต่างหากจากเจ้าพนักงานคลัง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบด้วย จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกกรมสรรพากรนอก มาขึ้นกระทรวงมหาดไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2
ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า กรมสรรพากรซึ่งมีหน้าที่ตรวจตราตักเตือนเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ในการตรวจเก็บภาษีอากร กระทำการบัญชีและรวบรวมเงินผลประโยชน์แผ่นดิน จะรวมอยู่ในกระทรวงอันเสนาบดีมีหน้าที่ปกครอง ยังไม่สู้เหมาะแก่ทางการ ควรมาขึ้นอยู่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติอันเสนาบดีมีหน้าที่ดำริและบัญชาการเงินอยู่แล้ว เพื่อจะได้จัดการตรวจตราและจัดการให้เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นฉะนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกกรมสรรพากรใน ซึ่งแต่เดิมขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล และกรมสรรพากรนอกซึ่งเดิมขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยมาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชากระทรวงพระคลังมหาสมบัติและให้รวมเข้าเป็นกรมเดียวกันเรียกว่ากรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2458 ดังมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ดังนี้
ประกาศยกกรมสรรพากรนอก มาขึ้นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และรวมกับกรมสรรพากรในเปลี่ยนนามเป็นกรมสรรพากร
พระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯสั่งว่า กรมสรรพากรซึ่งมีหน้าที่ตรวจตราตักเตือนเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ในการตรวจตราเก็บภาษีอากร กระทำการบัญชีและรวบรวมเงินประโยชน์แผ่นดินนั้น ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า หน้าที่การเช่นนี้จะรวมอยู่ในกระทรวงอันเสนาบดีมีหน้าที่ปกครอง ยังไม่สู้เหมาะแก่ทางการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสรรพากรใน ซึ่งแต่เดิมขึ้นในกระทรวงนครบาลมาขึ้นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอันเสนาบดีมีหน้าที่ดำริและบัญชาทางการเงินอยู่แล้วเพื่อจะได้จัดการตรวจตราและจัดการให้เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น การก็ได้ดำเนินการมาโดยเรียบร้อย สมควรจะรวมสรรพากรนอกมาไว้ในกระทรวงเดียวกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสรรพากรนอกและข้าราชการในกรมสรรพากรนอกมาขึ้นอยู่ในบังอนึ่ง กรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกแต่เดิมมาได้ขึ้นอยู่ต่างกระทรวงจึงแยกอยู่เป็นสองกรม บัดนี้ได้ยกมารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกันแล้ว สมควรจะรวมเข้าเป็นกรมเดียวได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รวมกรมสรรพากรนอกและกรมสรรพากรในเข้าเป็นกรมเดียวกัน ให้เรียกว่า กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศนี้เป็นต้นไป
ประกาศมา ณ วันที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2458 เป็นวันที่ 1757 ในรัชกาลปัจจุบัน

ตราประจำกระทรวงการคลังและกรมสรรพากร

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ทรงตรัสอธิบายเกี่ยวกับการใช้ตราว่า "แต่ก่อนไม่ได้ใช้เซ็นชื่อ ใช้ตราประจำตัวหรือประจำตำแหน่งประทับแทนเซ็นชื่อ เพราะฉะนั้น พระเจ้าแผ่นดินกับทั้งบรรดาสามัญ ซึ่งมีธุระในการหนังสือก็ทำตราขึ้นใช้ประจำตัว เว้นแต่บางคนบางตำแหน่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดปราณ จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระราชลัญจกรไปใช้เป็นตราประจำตัว นับเป็นเกียรติยศอันใหญ่ยิ่ง" เมื่อได้พระราชทานไปแล้ว ก็ไม่เรียกว่าพระราชลัญจกร จะเรียกจำเพาะแต่ที่ทรงใช้ประทับเท่านั้น ผู้ที่ได้รับตราพระราชทาน ถ้าเป็นตราประจำตัว เมื่อไม่มีตัวแล้วก็ส่งคืน ถ้าเป็นตราประจำตำแหน่งก็ต้องส่งคืนเช่นกัน ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญ ตราตำแหน่งเสนาบดีเหล่านี้ ไม่ปรากฎว่าใช้ประทับอีกต่อไป นอกจากจะใช้เครื่องหมายประจำกระทรวง
เดิมกระทรวงการคลังใช้ตราพระสุริยะมณฑล เป็นตราประจำกระทรวง พระยาอนุมานราชธน ได้อธิบายเรื่องตราพระสุริยมณฑลไว้ว่า "แต่ก่อนนี้การคลังและการต่างประเทศรวมอยู่ด้วยกัน และได้ใช้ตราบัวแก้ว ซึ่งเดิมเป็นตราประจำตำแหน่งเจ้าพระยาคลัง เป็นตรา ประจำกระทรวง ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2418 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองใหม่ โดยยกกรมพระคลังมหาสมบัติ แยกออกจากกระทรวงการต่างประเทศ ตราบัวแก้วจึงตกเป็นตราประจำกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ถือเอาตราพระสุริยมณฑลเป็นตราประจำกระทรวง (ตราพระสุริยมณฑลมีสองตรา คือ ตราพระสุริยมณฑลใหญ่ และตราพระสุริยมณฑลน้อย) ตราพระสุริยมณฑลนี้ ได้เคยพระราชทานเป็นตราประจำตัวแก่สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
ตราปักษาวายุภักษ์ ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่าตราปักษาวายุภักษ์ เป็นตราของพระยาราชภักดีฯ เจ้ากรมพระจำนวน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ต่อมาเมื่อโปรดให้ตั้งกระทรวงพระคลังฯและใช้ตราพระสุริยมณฑลแล้ว ตราปักษาวายุภักษ์ก็เลิกใช้ แต่นำเอามาใช้เป็นเครื่องหมายกระทรวงการคลัง นกวายุภักษ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ตรัสอธิบายไว้ดังนี้ ถ้าแปลตามคำก็ว่า นกกินลม ข้อยากในนกนี้เกิดขึ้นในที่ประชุมเสนาบดี สั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนผูกตรากระทรวงต่างๆเป็นลายข้อมือเสื้อเครื่องแบบ หากเป็นตราเก่าซึ่งมีตราประจำกระทรวงอยู่แล้ว จะเอามาใช้ได้ให้ใช้ตราเก่า ที่เป็นกระทรวงใหม่ไม่มีตรามาแต่เดิมจึงคิดผูกขึ้นใหม่ โดยคำสั่งอย่างนี้กระทรวงใดก็ไม่ยากเท่ากระทรวงคลัง ซึ่งเดิมพระยาราชภักดีฯทำการในหน้าที่เสนาบดีกระทรวงพระคลัง คือตรานกวายุภักษ์ รูปนกวายุภักษ์ในตรานั้นก็เป็นนกแบบสัตว์หิมพานต์ เหมือนกับนกอินทรีย์
ฉะนั้นไม่ทรงเชื่อว่าถูก จึงได้ทรงรำลึกต่อไป ก็ทรงรำลึกได้ว่า มี ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีความว่าทรงพระมาลาปักขนนกวายุภักษ์ ก็ทรงค้นหา ก็พบในหมายท้ายหนังสือพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนริทรเทวี เมื่อมีคำปรากฏเช่นนั้น นกวายุภักษ์ก็คือ นกการเวก เพราะพระมาลาทุกชนิดที่ปักขนนก ย่อมใช้ขนนกการเวกอย่างเดียวเป็นปกติ เมื่อทรงดำริปรับนกวายุภักษ์กับนกการเวกเข้ากัน ก็เห็นลงกันได้โดยมีทางเราพูดกันว่า นกการเวกนั้นมีปกติอยู่ในเมฆบนฟ้า กินลมเป็นภักษาหารตามที่ว่าพิสดารเช่นนั้น ก็เพราะนกชนิดนั้นในเมืองเราไม่มีและที่ว่ากินลมก็เพราะในเมฆไม่มีอะไร นอกจากลมจึงให้กินลมเป็นอาหาร แต่เมื่อปกติของมันอยู่ในเมฆแล้วก็ไฉนเล่ามนุษย์จึงได้ขนมันมาปักหมวก เชื่อว่าเพราะเหตุที่น่าสงสัยเช่นนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงตรัสสั่งไปต่างประเทศที่ส่งขนนกชนิดนั้นเข้ามา ให้ส่งตัวนกเข้ามาถวาย จึงได้ตัวจริงเป็นนกยัดไส้มีขนติดบริบูรณ์เข้ามา ก็เป็นนกที่เรียกตามภาษาอังกฤษ Paradise Bird ซึ่งที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษเช่นนี้ นึกว่าแปลมาจากภาษาแขก ความก็ว่าเป็นนกฟ้าเราคงได้ฟังแขกเขาว่า จึงละเมอตามไป เมื่อได้นกยัดไส้เข้ามาแล้วจึงทรงจัดเอาขึ้นเกาะคอนมีด้าม ให้เด็กถือนำพระยานุมาศในงานสมเด็จเจ้าฟ้าโสกันต์ ตามที่ได้พยานมาว่าเป็นนกอยู่ในแผ่นดิน ไม่ใช่นกอยู่ในฟ้าเช่นนั้น ใครจะเชื่อกันหรือไม่ก็หาทราบไม่ แม้ราชสีห์เมื่อได้ตัวจริงมาบอกใครว่า นี่แหละราชสีห์ก็ไม่มีใครเชื่อด้วยไม่เหมือนกับที่เราปั้นเขียนกัน ตามที่เราปั้น เขียนกันนั้น ขาดสิ่งสำคัญที่ไม่มีสร้อยคอ อันจะพึงสมชื่อว่า ไกรสร หรือ ไกรสรสีห์ หรือ ไกรสรราชสีห์
ตราพระอุเทนธิราชดีดพิณ เครื่องหมายประจำกรมสรรพากร มีประวัติอยู่ในหนังสือธรรมบทแปล ภาค 5 เป็นบทตอนหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในเรื่องพระนางสามาวดี ซึ่งนายประพัฒน์ ตรีณรงค์ แห่งกรมศิลปากร ได้เขียนไว้ในหนังสือ ศิลปากร ว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปลันตาปะ แห่งกรุงโกสัมพี เมื่อยังอยู่ในพระครรภ์ นกหัสดีลิงค์ได้โอบเอาพระราชมารดาไปปล่อยไว้ที่คาคบไม้ใหญ่ในป่า และได้ประสูติที่นั่นยามรุ่งอรุณ จึงมีพระนามว่า อุเทน แปลว่า รุ่งอรุณที่ปราศจากเมฆหมอก ต่อมา อัลลกัปปดาบส นำไปทำนุบำรุงและสอนมนต์ชื่อหัสดีกันต์และพิณสามสาย เมื่อดีดพิณและสาธยายมนต์สามารถทำให้ช้างหนีหรือช้างเข้ามาหาก็ได้ เมื่อพระเจ้าปลันตาปะสวรรคตพระเจ้าอุเทนทรงนำกองทัพช้างเข้าสู่กรุงโกสัมพี และได้เสด็จขึ้นครองราชย์นับแต่บัดนั้น
ตราพระอุเทนธิราชดีดพิณ (ตราเก่า) ที่ใช้ในสมัยเริ่มก่อตั้งกรมสรรพากร เมื่อ พ.ศ. 2459 อันมีพระเจ้าอินทรมนตรีศรีจันทรกุมาร (เอฟ.เอช.ไยล์) เป็นอธิบดีคนแรกนั้น ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้ออกแบบ ตราพระอุเทนธิราชดีดพิณที่ปรากฏในดวงตราอากรแสตมป์นั้น นายปลิว จั่นแก้ว แห่งกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้เขียนปรับปรุงจากตราเก่า ส่วนตราพระอุเทนธิราชดีดพิณที่กรมสรรพากรใช้อยู่ในปัจจุบัน (ตราใหม่) เข้าใจว่าดัดแปลงมาจากตราอากรแสตมป์
เหตุที่กรมสรรพากรได้นำพระรูปพระอุเทนธิราชดีดพิณ มาเป็นเครื่องหมายประจำกรม ก็เพราะได้พิจารณาเห็นว่าพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถใช้พิณและมนต์เรียกช้างได้ จึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของกรมเพื่อเรียกร้องให้ประชาชน นำภาษีอากรบำรุงให้รัฐ


2.2 โครงสร้างการบริหาร
โครงสร้างสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 มีดังนี้
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 มีท่านสรรพากรที่ประจำการอยู่ปัจจุบัน คือ นายมงคล อภิพัฒนะมนตรี และมีผู้ช่วยสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 อยู่ 2 คน คือ
นายปราการ อภิชาตบุตร์ และนายสุเมธ เพ็ญบุญรอด โดย จะมีทีมกำกับดูแลทั้งหมด 9 ทีม ตั้งแต่ทีม ก1-ก9 และมีฝ่ายต่างๆดังนี้
- ฝ่ายกฎหมายและเร่งรัดภาษีอากรค้าง(บางขุนเทียน,จอมทอง)
- ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี
- ฝ่ายวางแผนและประเมินผล&ทีมบริหาร-สำรวจ
- ฝ่ายกรรมวิธี
- งานบริหารทั่วไป
- สส. บางขุนเทียน
- สส.จอมทอง

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 14/21 หมู่ 3 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150 โทรศัพท์เบอร์กลาง : 0-2416-5410-2
Email : bkk15@rd.go.th
รถประจำทางที่ผ่าน : สาย 43 , 120 , 167 และ ปอ.544


2.3 ลักษณะงานของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เป็นหน่วยงานราชการของรัฐบาล ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชนเพื่อนำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนในประเทศเอง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวถือเป็นวัตถุประสงค์หลักในการที่รัฐจัดเก็บภาษีจากประชาชน และยังมีวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่รัฐนำมาตรการจัดเก็บภาษีอากรมาเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่รัฐต้องการ ดังนี้
1. เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการของรัฐ
2. เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน
3. เพื่อการกระจายรายได้
4. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
5. ส่งเสริมธุรกิจการค้า
และสำนักงานสรรพากรก็มีหน้าที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งจะทำหน้าที่เก็บภาษีอากร ให้คำแนะนำ ให้ความรู้เรื่องภาษี และคอยให้บริการกับประชาชน


2.4 ลักษณะงานของฝ่ายบริหารทั่วไป
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เป็นหน่วยงานราชการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีจากประชาชน โดยฝ่ายบริหารทั่วไป เป็นฝ่ายที่นักศึกษาได้เข้าไปฝึกซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
2.4.1 การวางแผนปฏิบัติงานของภาค
2.4.2 ติดตามผลการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับแผนงาน
2.4.3 การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน
2.4.4 การดำเนินการเกี่ยวกับธุรการและงานสารบรรณทั่วไป
2.4.5 การดำเนินการเกี่ยวกับสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การโยกย้าย การเกลี่ยอัตรากำลัง การเลื่อนขั้นเงินเดือน
2.4.6 การจัดทำทะเบียนประวัติ และการให้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
2.4.7 การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการ ลูกจ้างในท้องที่
แต่ส่วนที่รับผิดชอบงานหลักๆ ในฝ่ายบริหารทั่วไปของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 มีอยู่ 6 ส่วน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
2.4.1 งานธุรการ
2.4.2 งานการเงิน
2.4.3 งานพัสดุ
2.4.4 งานแบบแสดง/ประชาสัมพันธ์
2.4.5 งานบริการผู้เสียภาษี (คัดแบบ)
2.4.6 งานเลข

2.5 ลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เป็นหน่วยงานราชการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีจากประชาชน โดยฝ่ายบริหารทั่วไป เป็นฝ่ายที่นักศึกษาได้เข้าไปฝึกซึ่งจะเป็นส่วนที่รับผิดชอบงานหลักๆ อยู่ 6 ส่วนคือ
- งานธุรการ
- งานการเงิน
- งานพัสดุ
- งานแบบแสดง/ประชาสัมพันธ์
- งานบริการผู้เสียภาษี (คัดแบบ)
- งานเลข
หลักๆที่ได้รับมอบหมายคือ งานธุรการ ซึ่งได้รับมอบหมายงาน ดังนี้
1.4.1 รับเอกสารจากไปรษณีย์แล้วเช็คความเรียบร้อย ทำการแกะและแยกเอกสารแล้วลงรับและประทับวันที่ให้เรียบร้อย
1.4.2 ลงทะเบียนรับรายตัว-ปฏิบัติรายตัวหนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก
1.4.3 ออกเลขหนังสือราชการ
1.4.4 ลงรับหนังสือราชการใหม่
1.4.5 เช็คทีม
1.4.6 ลงทะเบียนรับแบบ ภ.ง.ด.
1.4.7 ส่งเอกสารตามทีม
1.4.8 เวียนหนังสือราชการ
1.4.9 จ่าหน้าซองเอกสาร
1.4.10 ถ่ายเอกสาร รับโทรศัพท์ และงานอื่นๆ บ้างที่นอกเหนือจากงานธุรการในฝ่ายบริหารทั่วไป

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1
บทนำ



1.1 ที่มาและความสำคัญ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และมีความสำคัญมากในการประกอบอาชีพในสังคมส่วนใหญ่ นักศึกษาโปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงจำเป็นจะต้องฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจในรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ จึงจะจบการศึกษาได้ โดยในภาคปกติจะบรรจุรายวิชานี้ไว้ในภาคเรียนสุดท้ายในแผนการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คือ วิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3 รหัสวิชา 3504804 จำนวนหน่วยกิจ 5(350) สำหรับหลักสูตร 4 ปี ซึ่งนักศึกษาจำเป็นต้องออกฝึกประสบการณ์ ณ สถานประกอบการจริงตามหน่วยงานราชการหรือเอกชนและลงมือปฏิบัติงานจริงๆ กับหน่วยงานที่ไปขอฝึก โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจให้มีความสอดคล้องหรือสัมพันธ์กันกับแชนงวิชาที่นักศึกษาได้ศึกษามาแล้วในมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งมีกำหนดการฝึกตั้งแต่ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ถึง วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ตามกำหนดทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
โดยการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในครั้งนี้เป็นการฝึกในแขนงวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งจะต้องฝึกประสบการณ์ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับงานที่ทำ การฝึกครั้งนี้นักศึกษาได้เข้าฝึกปฏิบัติงาน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีประชาชน เป็นงานประเภทบริการประชาชนและในการดำเนินงานนั้นได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานเป็นส่วนมากพร้อมกันนั้นจะมีการใช้อุปกรณ์สำนักงานร่วมด้วยเสมอซึ่งจะช่วยในการดำเนินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจเป็นไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาตลอดจนได้ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจทราบถึงภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานอีกด้วย พร้อมกันนั้นนักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจยังจะได้ใช้ความรู้ที่ศึกษามาเป็นเวลา 4 ปี มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับงาน และยังได้รู้ข้อดีข้อด้อยของตัวเองในการทำงาน มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคม รู้จักการปรับตัวแก้ไขข้อที่ผิดพลาดก่อนที่จะออกไปทำงานตรงจุดนั้นจริงๆ
ในสารนิพนธ์ฉบับนี้นอกจากเสนอถึงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา แล้วยังได้มีการนำประวัติความเป็นมาของหน่วยงาน ขั้นตอนการทำงานของหน่วยงาน การมีมนุษยสัมพันธ์ของผู้คนในหน่วยงาน การทำงานเป็นระบบเป็นทีม การแก้ไขปัญหาของงาน ที่สำคัญคือ นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจยังสามารถนำประสบการณ์ที่ได้ในการฝึกครั้งนี้ติดตัวไปใช้ในการทำงานจริงๆเมื่อจบการศึกษาไป
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษารายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
1.2.2 เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ความสามารถที่ได้เรียนมาเป็นระยะเวลา 4 ปี ไปประยุกต์ใช้ในที่ทำงานในชีวิตประจำวันได้
1.2.3 เพื่อให้นักศึกษาฝึกสร้างมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงานในสังคมส่วนใหญ่ได้
1.2.4 เพื่อพัฒนาตนในด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน การเข้าสังคมและการปรับตัวในการทำงาน
1.2.5 เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำงานของสถานที่ประกอบการจริง
1.2.6 เพื่อสร้างประสบการณ์การทำงานในสถานที่ทำงานจริงๆและได้รู้ถึงข้อดีข้อด้อยของตัวเองในการทำงาน
1.2.7 เพื่อศึกษาแนวทางและวิธีการในการทำงาน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.3.1 สามารถบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษารายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
1.3.2 สามารถรู้ความสามารถที่ตัวเองมีและได้เรียนมาเป็นระยะเวลา 4 ปี ไปประยุกต์ใช้ในที่ทำงานในชีวิตประจำวันได้จริงและถูกต้องสมบูรณ์
1.3.3 สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงานในสังคมส่วนใหญ่ได้
1.3.4 สามารถรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน การเข้าสังคมและการปรับตัวในการทำงาน
1.3.5 สามารถรับรู้ถึงขั้นตอนการทำงานของสถานที่ประกอบการได้จริง
1.3.6 สามารถทำงานในสถานที่ทำงานจริงๆและได้รู้ถึงข้อดีข้อด้อยของตัวเองในการทำงาน
1.3.7 สามารถรู้แนวทางและวิธีการในการทำงาน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน



1.4 ขอบเขตของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เป็นหน่วยงานราชการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีจากประชาชน โดยฝ่ายบริหารทั่วไป เป็นฝ่ายที่นักศึกษาได้เข้าไปฝึกซึ่งจะเป็นส่วนที่รับผิดชอบงานหลักๆ อยู่ 6 ส่วนคือ
- งานธุรการ
- งานการเงิน
- งานพัสดุ
- งานแบบแสดง/ประชาสัมพันธ์
- งานบริการผู้เสียภาษี (คัดแบบ)
- งานเลข
หลักๆที่ได้รับมอบหมายคือ งานธุรการ ซึ่งได้รับมอบหมายงาน ดังนี้
1.4.1 รับเอกสารจากไปรษณีย์แล้วเช็คความเรียบร้อย ทำการแกะและแยกเอกสารแล้วลงรับและประทับวันที่ให้เรียบร้อย
1.4.2 ลงทะเบียนรับรายตัว-ปฏิบัติรายตัวหนังสือราชการทั้งภายในและภายนอก
1.4.3 ออกเลขหนังสือราชการ
1.4.4 ลงรับหนังสือราชการใหม่
1.4.5 เช็คทีม
1.4.6 ลงทะเบียนรับแบบ ภ.ง.ด.
1.4.7 ส่งเอกสารตามทีม
1.4.8 เวียนหนังสือราชการ
1.4.9 จ่าหน้าซองเอกสาร
1.4.10 ถ่ายเอกสาร รับโทรศัพท์ และงานอื่นๆ บ้างที่นอกเหนือจากงานธุรการในฝ่ายบริหารทั่วไป

1.5 ระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ตามระยะเวลา 69 วัน เป็นจำนวน 479.10 ชั่วโมง โดยฝึกประสบการณ์วิชาชีพในวันจันทร์ถึงวันศุกร์
ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. วันละ 7 ชั่วโมงทำงานเป็นจำนวน 15 สัปดาห์ โดยมีรายละเอียดดังนี้


สารบัญภาพประกอบ

สารบัญภาพประกอบ



ภาพที่ หน้า
2.1 แผนที่แสดงเขตรับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 5

2.2 ตราประจำตัวหรือประจำตำแหน่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 11
2.3 ตราพระสุริยะมณฑล 12
2.4 ตราปักษาวายุภักษ์ 12
2.5 ตราพระอุเทนธิราชดีดพิณ 13
2.6 แผนผังการบริหารงาน 16
2.7 โครงสร้างสรรพากร 17
2.8 ผู้บริหารสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 18
2.9 โครงสร้างการบริหารงานฝ่ายบริหารทั่วไป 19